ค้นหาสมุนไพร  
     
   
   
   
     
 
   
eherb ผลการค้นหา ซาง, ไผ่ซาง
ซาง, ไผ่ซาง
Dendrocalamus strictus (Roxb.) Nees
 
 
 
 
 
รายละเอียดทางพฤษศาสตร์
 
  วงศ์ Poaceae
 
  ชื่อวิทยาศาสตร์ Dendrocalamus strictus (Roxb.) Nees
 
  ชื่อไทย ซาง, ไผ่ซาง
 
  ชื่อท้องถิ่น ไม้ซาง(คนเมือง), ครั่งเปร้า(ปะหล่อง), ลำซาง(ลั้วะ), เพ้าเบี่ยง(เมี่ยน)
 
  ลักษณะทาง พฤกษศาสตร์ เป็นไม้ไผ่หน่ออัดใบ ลำต้นมีสีเขียวอ่อน ไม่มีหนาม ผิวเป็นมัน มีกิ่งเเขนงมาก สูงประมาณ 6-20 ซม. มีเนื้อประมาณ 5-8 มม. ปล้องยายประมาณ 15-50 ซม.เนื้อไม้หยาบ โดยทั่วไปลำต้นมีไม้ผ่าศูนย์กลางประมาณ 5-12.5 ซม. ถ้าพบบริเวณเนินเขาสูงลำต้นจะมีเส้นผ่าศูนย์กลาง 2,5-10 ซม. ข้างนอกกาบจะมีขนเเข็งสีน้ำตาลเหลือง ในพื้นที่เเห้งเเล้งอาจจะไม่มีขนขณะที่ยังอ่อน กาบหุ้มลำมีสีเขียวอมเหลือง ครีบกาบเล็กหรือไม่มีกระจังกาบเเคบ หยัก
 
  ใบ ยอดกาบตรงเป็นรูปสามเหลี่ียมเเคบๆใบปลายใบเรียวเเหลม โคนใบเป็นมุมป้าน ขนาดใบยาว 12-30 ซม. กว้าง1-2ซม. ลักษณะใบมีขนอ่อนเเน่นเส้นลายใบมี2-6 เส้น เล้นลายใบย่อยมี 5-7เส้น
 
  ดอก -
 
  ผล -
 
  สรรพคุณ / การใช้ประโยชน์ - หน่ออ่อน ประกอบอาหารเช่น แกงหน่อไม้(เมี่ยน,ปะหล่อง)
- เนื้อไม้ ใช้เป็นโครงสร้างต่างๆ ของบ้าน เช่น ฟาก ฝาบ้าน(ลั้วะ)
เนื้อไม้ นำไปจักสานและใช้เป็นโครงสร้างต่างๆ ของบ้าน เช่น ฟาก ฝาบ้าน(ปะหล่อง)
- ปล้อง นำมาผ่าครึ่งซีกแล้วใช้ทำเป็นรางน้ำให้ไก่กิน(คนเมือง)
 
  อ้างอิง เต็ม สมิตินันทน์,2544. ชื่อพรรณไม้แห่งประเทศไทย. ส่วนพฤกษศาสตร์ป่าไม้ สำนักวิชาการป่าไม้ กรมป่าไม้, กรุงเทพฯ.
 
  สภาพนิเวศ -
 
  เอกสารประกอบ
 
ภาพนิ่ง